สถิติ
เปิดเมื่อ24/05/2019
อัพเดท22/09/2019
ผู้เข้าชม1486
แสดงหน้า1779
สินค้า
บทความ
ข้อมูลทั่วไปจังหวัดภูเก็ตเเละจังหวัดชลบุรี
ข้อมูลทั่วไปจังหวัดชลบุรี
ข้อมูลทั่วไปจังหวัดภูเก็ต
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตเเละจังหวัดชลบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
วัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดภูเก็ตเเละจังหวัดชลบุรี
วัฒนธรรมประเพณีจังหวัดชลบุรี
วัฒนธรรมประเพณีจังหวัดภูเก็ต
เราจะทำอะไรตอบเเทนจังหวัดภูเก็ตเเละจังหวัดชลบุรี
เราจะทำอะไรตอบเเทนจังหวัดชลบุรี
เราจะทำอะไรตอบเเทนจังหวัดภูเก็ต
วิดิโอเเนะนำจังหวัดภูเก็ตเเละจังหวัดชลบุรี
วิดิโอเเนะนำจังหวัดชลบุรี
วิดิโอเเนะนำจังหวัดภูเก็ต
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




วัฒนธรรมประเพณีจังหวัดภูเก็ต

อ่าน 58 | ตอบ 0

5. ประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรมของจังหวัดภูเก็ต

 
                พิธีลอยเรือของชาวเล (ชาวไทยใหม่) ประเพณีลอยเรือโดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวย์และบ้านสะปำจะะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น13 ค่ำ กลุ่มชาวเลที่เกาะสิเหร่จะมีพิธีลอยเรือ 
    ในวันขึ้น 14 ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน6 และเดือน11ซึ่งถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธี       ลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือแล้วนำไปลอย เพื่อนำเอาความทุกข์โศกเคราะห์ร้ายต่างๆออกไปกับทะเล        แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่ารำรองเง็งนั่นเอง หลังจากนั้นพวกผู้ชายจะเข้าป่าไปหาไม้มาทำเป็นรูป ไม้กางเขนจำนวน 7 อัน ที่ปลายไม้ทั้งสองด้านติดใบกะพ้อ นำไปปัก           เรียงเป็นแถวตามแนวตั้งจากบกออกสู่ทะเลตรงบริเวณที่วางเรือพิธี ไม้นี้ชาวเลเรียกว่า กายู่ฮาปัด เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์คอยปัดรังควานไม่ให้สิ่งอัปมงคลกลับเข้ามาในหมู่บ้านอีก ชาวบ้าน
    จะปักไม้นี้ไว้จนถึงเช้าวันพรุ่ง จึงถอนออกไปปักใหม่เป็นแนวนอนยาวตลอดตั้งแต่หัวหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้าน เป็นอันเสร็จพิธีลอยเรือ บรรดาพี่น้องชาวเลจากที่ต่างๆที่สนุกสนาน           รื่นเริงกันมาหลายวันก็ถึงคราวต้องเลิกรา รอจนกว่าพิธีลอยเรือในครั้งหน้าจะเวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่งจึงถอนไม้กายู่ฮาปัดท่อนเก่าออกเพื่อนำท่อนใหม่มาปักแทน
 
 
 
                เทศกาลอาหารทะเล งานเทศกาลอาหารเริ่มในเดือนพฤษภาคมของทุกปี จุดประสงค์เพื่อที่จะเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต และ ชักชวนให้นักท่อง           เที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ตในช่วงฤดูฝน กิจกรรมของงานนี้มีการประกวดขบวนแห่ของทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเล การสาธิต           อาหารประจำภาค และการแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆอีกด้วย
 
                งานท้าวเทพกษัตรีย์ ท้าวศรีสุนทร ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี (วันถลางชนะศึก) เป็นการเทิดทูนเกียรติ และรำลึกถึงคุณงามความดี ของสองวีรสตรีที่ท่านสามารถ       ปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึก(พม่า)ในสมัยสงครามเก้าทัพนอกจากนี้ ยังเป็นการฟื้นฟูแหล่งประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก(วัดม่วง)โคกชนะพม่าหรือ       วัดพระนางสร้าง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ตให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอีกด้วย
 
 
 
                งานประเพณีปล่อยเต่าแห่งชาติ มีประเพณีปล่อยลูกเต่าที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปลงทะเล โดยจะจัดงานขึ้นที่หาดไนยาง ซึ่งเป็นบริเวณที่เต่าขึ้นมาวางไข่เป็นประจำ           นอกจากนี้ยังมีการละเล่นพื้นบ้าน กีฬาทางน้ำ และนิทรรศการเกี่ยวกับเต่าทะเลให้ชมกันในงานด้วย ในอดีตมีเต่าทะเล เช่น เต่าหญ้า เต่ามะเฟือง ขึ้นมาไข่ที่หาดไม้ขาวและหาดใน       ยางจำนวนมาก แต่ปัจจุบันนี้ลดจำนวนลงเนื่องจากเต่าบางส่วนติดอวนตาย และผลกระทบจากมลภาวะ ทำให้เต่าไม่ขึ้นมาวางไข่จึงมีการจัดงานนี้ขึ้นเพื่อช่วยอนุรักษ์เต่าทะเล วันที่       จัดงานวันที่ 13 เม.ย. ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์และวันประมงแห่งชาติ สถานที่จัดคือหาดไม้ขาว สิ่งน่าสนใจจะมีการปล่อยเต่าทะเลที่อนุบาลไว้ส่วนใหญ่เป็นเต่าหญ้าโดยให้
    ผู้ร่วมงานบริจาคเงินแล้วนำเต่าไปปล่อยลงทะเล จากนั้นก็ร่วมแข่งขันกีฬาและการละเล่นพื้นเมือง เช่น มวยทะเล ไต่เสาน้ำมัน ชักเย่อ ปิดตาตีหม้อ วิ่งเปี้ยว ฯลฯ บางปีมีการเลี้ยง           อาหารและขนมจีนด้วย
 
 
 
                การแข่งขันไตรกีฬาลากูน่าภูเก็ต การแข่งขันนี้จัดขึ้นทุกๆ ปี โดยในแต่ละปีได้กำหนดเส้นทางการแข่งใหม่อยู่เสมอ การแข่งขันไตรกีฬา ประกอบไปด้วย ปั่นจักยาน
    ว่ายน้ำ และวิ่ง ใช้เวลาในการแข่งทั้งหมดราว 2-5 ชั่วโมง ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :